Elegant Rose
ยินดีต้อนรับค่ะ ^______^

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ

สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ที่มีไม้เอกไม้โทตรงตามบังคับ
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น