Elegant Rose
ยินดีต้อนรับค่ะ ^______^

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์


มงคลสูตรคำฉันท์

           มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๖    คำ "มงคล" หมายความถึงเหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงหรืออาจแปลให้ง่ายว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า หรือทางก้าวหน้านั่นเอง


           มงคลสูตร เป็นพระสูตรในพระพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันดี
ในเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลทั่วไป จะต้องสวดบทมงคลสูตรเสมือนโดยปกติเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมงคลสูตร องค์ที่เป็นประธานจะเริ่มหยดเทียนลงในขันน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้พรม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสิริมงคลตามคตินิยม ทั้งนี้เพราะเนื้อความในมงคลสูตรกล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ

            รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖

เนื้อเรื่อง

            มนุษย์และเทวดา ได้พยายามค้นหาคำตอบว่าอะไรคือมงคลเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปีก็ยังไม่ทราบ
ว่ามงคลคืออะไร จนมีเทพองค์หนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เพื่อทูลถามเรื่องนี้
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการด้วยคาถาบาลี ๑๐ คาถา และคาถาสรุป ๑ คาถาชี้ให้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติตามมงคล ๓๘ ประการ

มงคล ๓๘ ประการ มีตามลำดับ ดังนี้



๑. ไม่คบคนพาล

๒. คบบัณฑิต

๓. บูชาผู้ที่ควรบูชา
๔. อยู่ในประเทศอันสมควร 

๕. เคยทำบุญไว้กาลก่อน

๖. ตั้งตนไว้ชอบ
๗. สดับตรับฟังมาก 

๘. มีศิลปะ

๙. มีวินัย
๑๐.มีวาจาเป็นสุภาษิต 

๑๑.บำรุงบิดามารดา

๑๒.สงเคราะห์บุตร
๑๓.สงเคราะห์ภรรยา 

๑๔.การงานไม่คั่งค้างอากูล

๑๕.ให้ทาน
๑๖.ประพฤติธรรม 

๑๗.สงเคราะห์ญาติ

๑๘.ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.เว้นจากบาป 

๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

๒๑.ไม่ประมาทในธรรม
๒๒.เคารพ 

๒๓.การเจียมตัว

๒๔.ยินดีด้วยของตน (สันโดษ)
๒๕.รู้คุณท่าน 

๒๖.ฟังธรรมตามกาล

๒๗.อดทน
๒๘.ว่าง่าย 

๒๙.เห็นสมณะ

๓๐.สนทนาธรรมตามกาล
๓๑.บำเพ็ญตบะ 

๓๒.ประพฤติพรหมจรรย์

๓๓.เห็นอริยสัจ
๓๔.ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน 

๓๕.จิตไม่หวั่นไหว

๓๖.จิตไม่เศร้าโศก
๓๗.จิตปราศจากธุลี 

๓๘.จิตเกษม

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ

สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ที่มีไม้เอกไม้โทตรงตามบังคับ
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือ